แนวคิดใหม่ในการจัดการศึกษา คือ การให้ชุมชนและท้องถิ่น และทุกส่วนร่วมของสังคม มีส่วนในการจัดการศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากโรงเรียนเป็นหน่วยงานของสังคม โรงเรียนจึงควรเป็นโรงเรียนของชุมชนและชุมชนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการ เรียนการสอน โดยการรู้เห็นและความร่วมมือของประชาชนและชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนจึงมีความสำคัญ โรงเรียนวัดย่านซื่อเปิดสอนระดับอนุบาล ๒ - ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียน ๔๒ คน ในปีการศึกษา ๒๕๖๓ ซึ่งสภาพชุมชนผู้ปกครองนักเรียนมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนน้อย นักเรียนส่วนใหญ่จึงมีฐานะยากจน และเป็นสังคมชนบทมีอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพรับจ้าง เกษตรกรได้ผลผลิตน้อย จึงเป็นสาเหตุให้ชาวบ้านขาดรายได้ ยากจน บางครอบครัวต้องเข้าไปทำงานโรงงานทิ้งเด็กไว้กับผู้สูงอายุ ผู้ปกครองโรงเรียนวัดย่านซื่อให้ความสำคัญกับการศึกษาและช่วยสนับสนุนโรงเรียนเป็นอย่างดีตามกำลังความสามารถ โรงเรียนวัดย่านซื่อตระหนักดีว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความคิด คุณธรรมของเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ นอกจากนี้ การศึกษายังเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การประกอบอาชีพ การมีรายได้ เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน และการพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด อย่างไรก็ตามปัญหาความยากจนยังเป็นอุปสรรคที่ทำให้นักเรียนส่วนหนึ่งขาดโอกาสทางการศึกษา ต้องออกจากโรงเรียนกลางคันหรือไม่ได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ เสริมสร้างทักษะ มองหาความถนัด ที่จะพัฒนาเป็นอาชีพต่อไปในอนาคต จากเหตุผลดังกล่าว โรงเรียนได้ให้ความสำคัญกับนักเรียน จึงส่งเสริมให้นักเรียนได้มีอาชีพระหว่างเรียนเพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว และได้ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีความรู้ด้านวิชาชีพติดตัวไปเมื่อจบการศึกษา และสามารถนำไปประกอบอาชีพได้
โรงเรียนวัดย่านซื่อเป็นโรงเรียนประชารัฐรุ่นที่ ๒ จึงจัดทำ “โครงการอาชีพสานฝันนำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต” เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพให้กับนักเรียนและผู้ปกครองต่อ TOSHIBA เพื่อขอรับการสนับสนุนเกื้อกูลการส่งเสริมทักษะอาชีพ ฝึกทักษะกระบวนการคิดในการทำงานของนักเรียน การสร้างความสามารถพัฒนาทักษะและเสริมสร้างประสบการณ์ด้านอาชีพให้แก่นักเรียน และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
โรงเรียนวัดย่านซื่อ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๔๑ หมู่ ๔ ตำบลบ้านช้าง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๒ เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียนในเขตบริการ ๑ หมู่บ้านได้แก่หมู่ที่ ๔ บ้านย่านซื่อ โลกปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีใหม่ๆเป็นสังคมข้อมูลข่าวสาร และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นที่ "คน" จะต้องเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำให้เป็นคนที่รู้จักคิด วิเคราะห์ รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง
แนวคิดใหม่ในการจัดการศึกษา คือ การให้ชุมชนและท้องถิ่น และทุกส่วนร่วมของสังคม มีส่วนในการจัดการศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากโรงเรียนเป็นหน่วยงานของสังคม โรงเรียนจึงควรเป็นโรงเรียนของชุมชนและชุมชนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการ เรียนการสอน โดยการรู้เห็นและความร่วมมือของประชาชนและชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนจึงมีความสำคัญ โรงเรียนวัดย่านซื่อเปิดสอนระดับอนุบาล ๒ - ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียน ๔๒ คน ในปีการศึกษา ๒๕๖๓ ซึ่งสภาพชุมชนผู้ปกครองนักเรียนมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนน้อย นักเรียนส่วนใหญ่จึงมีฐานะยากจน และเป็นสังคมชนบทมีอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพรับจ้าง เกษตรกรได้ผลผลิตน้อย จึงเป็นสาเหตุให้ชาวบ้านขาดรายได้ ยากจน บางครอบครัวต้องเข้าไปทำงานโรงงานทิ้งเด็กไว้กับผู้สูงอายุ ผู้ปกครองโรงเรียนวัดย่านซื่อให้ความสำคัญกับการศึกษาและช่วยสนับสนุนโรงเรียนเป็นอย่างดีตามกำลังความสามารถ โรงเรียนวัดย่านซื่อตระหนักดีว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความคิด คุณธรรมของเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ นอกจากนี้ การศึกษายังเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การประกอบอาชีพ การมีรายได้ เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน และการพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด อย่างไรก็ตามปัญหาความยากจนยังเป็นอุปสรรคที่ทำให้นักเรียนส่วนหนึ่งขาดโอกาสทางการศึกษา ต้องออกจากโรงเรียนกลางคันหรือไม่ได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ เสริมสร้างทักษะ มองหาความถนัด ที่จะพัฒนาเป็นอาชีพต่อไปในอนาคต จากเหตุผลดังกล่าว โรงเรียนได้ให้ความสำคัญกับนักเรียน จึงส่งเสริมให้นักเรียนได้มีอาชีพระหว่างเรียนเพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว และได้ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีความรู้ด้านวิชาชีพติดตัวไปเมื่อจบการศึกษา และสามารถนำไปประกอบอาชีพได้
โรงเรียนวัดย่านซื่อเป็นโรงเรียนประชารัฐรุ่นที่ ๒ จึงจัดทำ “โครงการอาชีพสานฝันนำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต” เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพให้กับนักเรียนและผู้ปกครองต่อ TOSHIBA เพื่อขอรับการสนับสนุนเกื้อกูลการส่งเสริมทักษะอาชีพ ฝึกทักษะกระบวนการคิดในการทำงานของนักเรียน การสร้างความสามารถพัฒนาทักษะและเสริมสร้างประสบการณ์ด้านอาชีพให้แก่นักเรียน และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑. เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ ทักษะ ในการประกอบอาชีพ
๒.๒. เพื่อฝึกทักษะกระบวนการคิดในการทำงานของนักเรียน
๒.3. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานและอาชีพให้กับนักเรียนให้มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้แก่ตนเองและครอบครัว
๒.๔ เพื่อให้นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๒.๕ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ มีทักษะในการเลือกตราสินค้าให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์
๓. เป้าหมาย
๓.๑ เชิงปริมาณ
๓.๑.๑ นักเรียนร้อยละ ๙๕ มีความรู้ มีทักษะในการประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้อง
๓.๑.๒ นักเรียนร้อยละ ๙๕ มีกระบวนการคิดในการทำงานได้อย่างถูกต้อง
๓.๑.๓ นักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ร้อยละ ๙๕ มีความรู้ มีทักษะใน
การประกอบอาชีพเสริม เพิ่มรายได้แก่ตนเองและครอบครัวได้
๓.๑.๔ นักเรียนร้อยละ ๙๕ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “อยู่อย่างพอเพียง” ในระดับดีขึ้นไป
๓.๑.๕ นักเรียนร้อยละ ๙๕ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ มีทักษะในการเลือกตราสินค้าให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์
๓.๒ เชิงคุณภาพ
๓.๒.๑ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะ และประกอบอาชีพได้
๓.๒.๒ นักเรียนมีทักษะกระบวนการคิดในการทำงานได้อย่างถูกต้อง
๓.๒.๓ นักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง มีความรู้ มีทักษะในการประกอบ
อาชีพเสริม เพิ่มรายได้แก่ตนเองและครอบครัวได้
๓.๒.๔ นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “อยู่อย่างพอเพียง” ตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง
๓.๒.๕ นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์
มีทักษะในการเลือกตราสินค้าให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์
แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินโครงการ | มีนาคม 2564 |
ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจ | มีนาคม 2564 |
ดำเนินโครงการและดำเนินกิจกรรม | กรกฎาคม 2564 |
ประเมินผลโครงการ สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินงาน | กันยายน 2564 |
ติดต่อประสานงานด้านต่างๆ | มิถุนายน 2564 |
ลำดับ | รายการ | จำนวน | ราคาต่อหน่วย | จำนวนเงิน | |
---|---|---|---|---|---|
รวม | 0.00 |
2/5 |
วัน เดือน ปี | รายการ | รายรับ | รายจ่าย | คงเหลือ | ใบเสร็จรับเงิน |
---|---|---|---|---|---|
22/12/63 | เงินสนับสนุนโครงการ | 3,000.00 | 0.00 | 3,000.00 | - |
19/12/63 | เงินสนับสนุนโครงการ | 2,076.00 | 0.00 | 2,076.00 | - |
17/12/63 | เงินสนับสนุนโครงการ | 1.00 | 0.00 | 1.00 | - |
15/12/63 | เงินสนับสนุนโครงการ | 9.00 | 0.00 | 9.00 | - |
15/12/63 | เงินสนับสนุนโครงการ | 507.00 | 0.00 | 507.00 | - |
15/12/63 | เงินสนับสนุนโครงการ | 6,500.00 | 0.00 | 6,500.00 | - |
09/12/63 | เงินสนับสนุนโครงการ | 1,000.00 | 0.00 | 1,000.00 | - |
09/12/63 | เงินสนับสนุนโครงการ | 1,000.00 | 0.00 | 1,000.00 | - |
04/12/63 | เงินสนับสนุนโครงการ | 1.00 | 0.00 | 1.00 | - |
03/12/63 | เงินสนับสนุนโครงการ | 1,000.00 | 0.00 | 1,000.00 | - |
02/12/63 | เงินสนับสนุนโครงการ | 200.00 | 0.00 | 200.00 | - |
30/11/63 | เงินสนับสนุนโครงการ | 100.00 | 0.00 | 100.00 | - |
30/11/63 | เงินสนับสนุนโครงการ | 500.00 | 0.00 | 500.00 | - |
24/11/63 | เงินสนับสนุนโครงการ | 1.00 | 0.00 | 1.00 | - |
20/11/63 | เงินสนับสนุนโครงการ | 1.00 | 0.00 | 1.00 | - |
ด้านผู้เรียน
|
ด้านผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา
|
ด้านหลักสูตรและการสอน
|
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
|
ด้านการมีส่วนร่วม
|
ปีการศึกษา | คณิตศาสตร์ | วิทยาศาสตร์ | ภาษาไทย | ภาษาอังกฤษ | คะแนนเฉลี่ย |
---|