

ในยุคที่เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทักษะด้านการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นทักษะที่สำคัญมากสำหรับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาประเทศไทยไปสู่ยุคของประเทศไทย 4.0 ที่นักเรียนจะต้องพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ผ่านการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ มีโอกาสฝึกฝนและใช้งานสื่อและอุปกรณ์จริง เพื่อใช้ในการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม
การจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนมีทักษะด้านการโค้ดดิ้ง ทักษะอัจฉริยะแห่งอนาคต ที่เน้นพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การรู้ลำดับขั้นตอน และการคิดสร้างสรรค์นั้นการโค้ดดิ้งจะทำให้นักเรียนมีทักษะการคิดที่เป็นกระบวนการได้ดี สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ทั้งยังปรับตัวได้ไวในสถานการณ์ต่าง ๆ แต่เนื่องจากโรงเรียนบ้านแม่โจ้ยังขาดวัสดุ อุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านการโค้ดดิ้งของนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่โจ้ ที่หลากหลายรูปแบบ เช่น กิจกรรมรูปแบบ Unplugged / Plugged Active Learning และเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ เพื่อให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ เรียนรู้อย่างสนุก ไม่เบื่อ
ดังนั้น โรงเรียนบ้านแม่โจ้จึงได้ดำเนินงานโครงการส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้ง ทักษะอัจฉริยะสำหรับการเรียนรู้สู่ยุคของประเทศไทย 4.0 โรงเรียนบ้านแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะด้านโค้ดดิ้ง มีทักษะพื้นฐานในการวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน การคิดสร้างสรรค์และนักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ต่อยอดการเรียนรู้ ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมได้ในอนาคต
1. นำเสนอรายละเอียดแผนการดำเนินงานของโครงการ
2. จัดหาสื่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้งให้กับนักเรียน
3. จัดทำเอกสารให้ความรู้/ใบงาน พัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้งให้กับนักเรียน
4. จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้งในชั่วโมงเรียนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
สาระที่ 4 เทคโนโลยี มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม
ตัวชี้วัด ป.1/1 แก้ปัญหาอย่างง่ายโดยใช้การลองผิดลองถูกการเปรียบเทียบ
ป.1/2 แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานหรือการแก้ปัญหาอย่างง่ายโดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ หรือข้อความ
ป.1/3 เขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือสื่อ
ป.2/1 แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานหรือการแก้ปัญหาอย่างง่ายโดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ หรือข้อความ
ป.2/2 เขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือสื่อ และตรวจหาข้อผิดพลาดของโปรแกรม
ป.3/1 แสดงอัลกอริทึมในการทำงานหรือการแก้ปัญหาอย่างง่ายโดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ หรือข้อความ
ป.3/2 เขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือสื่อ และตรวจหาข้อผิดพลาดของโปรแกรม
ป.4/1 ใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา การอธิบายการทำงาน การคาดการณ์ผลลัพธ์จากปัญหาอย่างง่าย
ป.4/2 ออกแบบ และเขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือสื่อ และตรวจหาข้อผิดพลาดและแก้ไข
ป.5/1 ใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา การอธิบายการทำงาน การคาดการณ์ผลลัพธ์จากปัญหาอย่างง่าย
ป.5/2 ออกแบบ และเขียนโปรแกรมที่มีการใช้เหตุผลเชิงตรรกะอย่างง่าย ตรวจหาข้อผิดพลาดและแก้ไข
ป.6/1 ใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการอธิบายและออกแบบวิธีการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน
ป.6/2 ออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ตรวจหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมและแก้ไข
ม.1/1 ออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงนามธรรมเพื่อแก้ปัญหาหรืออธิบายการทำงานที่พบในชีวิตจริง
ม.1/2 ออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่ายเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์
ตัวชี้วัด ม.2/1 ออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหา หรือการทำงานที่พบในชีวิตจริง
ม.2/2 ออกแบบและเขียนโปรแกรมที่ใช้ตรรกะและฟังก์ชันในการแก้ปัญหา
ม.3/1 พัฒนาแอปพลิเคชันที่มีการบูรณาการกับวิชาอื่นอย่างสร้างสรรค์
5. จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้งเพิ่มเติมให้กับนักเรียนในชุมนุม MJ School Coding Kid ในคาบเรียนชุมนุม
6. จัดกิจกรรมค่ายนักประดิษฐ์ดิจิทัลให้กับนักเรียนในชุมนุม MJ School Coding Kid จำนวน 2 วัน
- การทำงานของหุ่นยนต์เบื้องต้น
- การประกอบหุ่นยนต์
- การเขียนโปรแกรม Microbit เพื่อควบคุมหุ่นยนต์
7. จัดกิจกรรมพี่สอนน้อง เพื่อนสอนเพื่อน แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม Microbit เพื่อควบคุมหุ่นยนต์
8. จัดกิจกรรมการประกวดนักประดิษฐ์ดิจิทัลที่มีผลงานดีเด่น ระดับชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3
9. รวบรวมข้อมูลและประเมินผลการดำเนินโครงการ
10. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินโครงการ
นำเสนอรายละเอียดโครงการ จัดทำเอกสาร จัดทำกิจกรรม รวบรวมข้อมูล | มิถุนายน 2563 |
จัดหาสื่อเพื่อการเรียนรู้พัฒนาทักษะด้าน Coding รูปแบบ Unplugged/Plugged | มกราคม 2564 |
จัดทำเอกสารให้ความรู้/ใบงาน พัฒนาทักษะด้าน Coding | มกราคม 2564 |
จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะด้าน Coding ในชั่วโมงเรียนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ให้นักเรียนระดับชั้น | มกราคม 2564 |
จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะด้าน Coding เพิ่มเติมให้กับนักเรียนในชุมนุม MJ School Coding Kids ในคาบเรียนชุมนุม | มกราคม 2564 |
จัดกิจกรรมค่ายนักประดิษฐ์ดิจิทัลให้กับนักเรียนในชุมนุม MJ School Coding Kids | มกราคม 2564 |
จัดกิจกรรมพี่สอนน้อง เพื่อนสอนเพื่อน สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม | กุมภาพันธ์ 2564 |
ลำดับ | รายการ | จำนวน | ราคาต่อหน่วย | จำนวนเงิน | |
---|---|---|---|---|---|
รวม | 0.00 |
7/7 |
ด้านผู้เรียน
|
ด้านผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา
|
ด้านหลักสูตรและการสอน
|
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
|
ด้านการมีส่วนร่วม
|
ปีการศึกษา | คณิตศาสตร์ | วิทยาศาสตร์ | ภาษาไทย | ภาษาอังกฤษ | คะแนนเฉลี่ย |
---|