โรงเรียนบ้านไร่ป่า โรงเรียนในพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ทั้งปลูุกพืชผัก ผลไม้ และยางพารา แต่ยังขาดแรงงานในการผลิต และเก็บเกี่ยวผลผลิต ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตที่ได้ เช่น ผลผลิตเน่าเสียจากการเก็บเกี่ยวไม่ทันเวลา รายได้ลดลง ทางโรงเรียนจึงได้ผลักดัน และส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดความรู้และกระบวนการแก้ปัญหาจากวิชาวิทยาการคำนวณในห้องเรียน นำมาประยุกต์ใช้ในการทำการเกษตรอันเป็นอาชีพหลักของชุมชน จึงเกิดโครงการหุ่นยนต์ไมโครบิต เสริมการเรียนรู้สู่นวัตกรรมภายในชุมชนขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดความเสียหายจากทำเกษตรกรรมต่อผลผลิตที่อาจเกิดขึ้น
บูรณาการเทคโนโลยี แก้ปัญหาแรงงานเกษตร

เนื่องจากปัจจุบัน ผู้คนหมู่บ้านของโรงเรียนบ้านไร่ป่าส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม เช่น การปลูกผลไม้ การปลูกผัก การทำสวนยาง ซึ่งอาชีพเหล่านี้ต้องใช้แรงงานเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น การใส่ปุ๋ยในสวนผลไม้ การฉีดพ่นปุ๋ยในการปลูกผัก การคัดแยกสีผลไม้ การลดน้ำต้นไม้ ชั่งน้ำหนักผลไม้ ทำให้เกิดปัญหาตามมมา คือ ต้องจ้างแรงงานเพิ่มเพื่อมาช่วยในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

จากปัญหาที่เกิดขึ้นข้างต้น ทำให้เราเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยี ทางด้านหุ่นยนต์ซึ่งตอบโจทย์ในการปลูกฝั่งให้นักเรียนได้มีความรู้และความสามารถที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในโลกศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นการบูรณาการการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ไว้ด้วยกัน ผ่านการใช้อุปกรณ์การออกแบบหุ่นยนต์ไมโครบิตเน้นการสอนในลักษณะของกิจกรรม ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผ่านรายวิชาวิทยาการคำนวณและวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยนักเรียนทุกคนจะได้พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ภายใต้จิตนาการและเพิ่มขีดความสามารถที่มีอยู่ เพื่อตอบสนองความต้องการที่จะช่วยเหลือและพัฒนาชุมชนทางโรงเรียนบ้านไร่ป่า จึงมีความต้องการที่จะจัดทำโครงการหุ่นยนต์ไมโครบิตเสริมการเรียนรู้ สู่นวัตกรรมภายในชุมชน เพื่อตอบโจทย์ในการลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรภายในชุมชนอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมการศึกษาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยมุ่งเป้าหมายให้ผู้เรียนได้พัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตรและต่อยอดทักษะในการแก้ปัญหาของชุมชน
2. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจระบบการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์หุ่นยนต์ไมโครบิต
3..เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนโปรแกรมและอัพโหลดโปรแกรมเพื่อควบคุมหุ่นยนต์ไมโครบิตได้
4. เพื่อตอบโจทย์ในการลดค่าใช้จ่ายการจ้างแรงงานและเพิ่มผลผลิตทางด้านเกษตรภายในชุมชน
กลุ่มเป้าหมาย
1. ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน
2. ครูหรือบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 14 คน
รายละเอียดโครงการ
- เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกการแก้ปัญหาทางการเกษตรและการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและต่อด้วยการบรรยายการเขียนโปรแกรมการทำงานหุ่นยนต์ไมโครบิตจากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
- ประชุมคณะครูเพื่อวางแผนในการดำเนินจัดกิจกรรมการเสริมทักษะการเรียนรู้โครงการหุ่นยนต์ไมโครบิตเสริมการเรียนรู้ สู่นวัตกรรมภายในชุมชน
- ครูและนักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้พื้นฐานทางด้านเกษตรเนื่องจากโรงเรียนมีการสอนบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่น(เกษตรก้าวหน้า พัฒนาชุมชน)ในรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีอยู่แล้วจึงสามารถบูรณาการด้านวิชาการร่วมกับเกษตรท้องถิ่นและนวัตกรรมหุ่นยนต์ไมโครบิตได้
- จัดชั่วโมงกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้เรียนรู้จักกับไมโครบิต การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์เบื้องต้น การอ่านค่าเซ็นเซอร์บนบอร์ด การเชื่อมต่อไมโครบิตกับบบอร์ด IBitผู้เรียนออกแบบนวัตกรรมที่สอดคล้องกับเกษตรของชุมชนเป็นการทำงานของหุ่นต์ยนต์ไมโครบิตได้จากความรู้ที่ได้เรียนมา
- ให้ผู้เรียนได้พัฒนานวัตกรรมหุ่นยนต์ไมโครบิตด้านการเกษตรและต่อยอดทักษะในการแก้ปัญหาของชุมชน
- นำเสนอผลงานหุ่นยนต์ที่ใช้งานได้จริงด้านการเกษตรและต่อยอดทักษะในการแก้ปัญหาของชุมชน
- โปรโมทหุ่นยนต์ผ่านสื่อออนไลน์(Facebook โรงเรียน)
- ประเมินผลการปฏิบัติติงาน
|
แผนการดำเนินงาน
เสนอกิจกรรมเพื่อขออนุมัติ |
มกราคม 2564 |
ประชุมคณะครูเพื่อวางแผนในการดำเนินจัดกิจกรรมการเสริมทักษะการเรียนรู้โครงการหุ่นยนต์ไมโครบิตเสริมการเรียนรู้ สู่นวัตกรรมภายในชุมชนเนื่องจากครูและนักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้พื้นฐานทางด้านเกษตรเพราะโรงเรียนมีการสอนบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่น(เกษตรก้าวหน้า พัฒนาชุมชน)ในรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีอยู่แล้วจึงสามารถบูรณาการด้านวิชาการร่วมกับเกษตรท้องถิ่นและนวัตกรรมหุ่นยนต์ ไมโครบิตได้ |
กุมภาพันธ์ 2564 |
จัดทำรายการเสนอซื้อสื่อ/วัสดุอุปกรณ์ เพื่อประกอบให้เป็นหุ่นไมโครบิต(จำลอง)เพื่อการเกษตร |
กุมภาพันธ์ 2564 |
ฝึกฝนนักเรียนให้มีความคุ้นชิน กับไมโครบิตและอุปกรณ์ต่อพ่วง |
มีนาคม 2564 |
เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกการแก้ปัญหาทางการเกษตรและการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและต่อด้วยการบรรยายการเขียนโปรแกรมการทำงานหุ่นยนต์ไมโครบิตจากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน |
มีนาคม 2564 |
จัดชั่วโมงกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้เรียนรู้จักกับไมโครบิต การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์เบื้องต้น การอ่านค่าเซ็นเซอร์บนบอร์ด การเชื่อมต่อไมโครบิตกับบบอร์ด IBit |
พฤษภาคม 2564 |
ให้ผู้เรียนได้พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการเกษตรและต่อยอดทักษะในการแก้ปัญหาของชุมชน |
กันยายน 2564 |
นำเสนอผลงานเทคโนโลยีที่ใช้งานได้จริงด้านการเกษตรและต่อยอดทักษะในการแก้ปัญหาของชุมชน |
ตุลาคม 2564 |
โปรโมทเทคโนโลยีผ่านสื่อออนไลน์(Facebook โรงเรียน) |
ธันวาคม 2564 |
ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน |
มกราคม 2565 |
สรุปผลและรายงานผลการปฏิบัติงาน |
กุมภาพันธ์ 2565 |
การประเมินผล
1. ผู้สอนระดับประถมศึกษาที่มีความสามารถในการจัดการ เรียนรู้แบบ Active Learningในระดับดีขึ้นไป
2. ผู้สอนระดับประถมศึกษาที่มีความสามารถและ ประยุกต์ใช้ไอซีทีในกำรจัดกำรเรียนรู้ในระดับดีขึ้นไป
3. สถานศึกษามี Laptopหรือ Tablet เพื่อให้ผู้เรียนใช้ ในการเรียนรู้และเข้าถึงแหล่งความรู้ออนไลน์ (ไม่รวมถึง Laptop หรือ Desktop ที่อยู่ในห้อง คอมพิวเตอร์)
4. C15A ร้อยละของแผนการจัดการเรียนรู้ระดับประถมศึกษาที่เป็นแบบ Active Learning
5. การมีส่วนร่วมทางการศึกษาของชุมชนและ สังคม
6. ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อ การดำเนินงานของสถานศึกษา
7. การส่งเสริมการศึกษาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยมุ่งเป้าหมายให้ผู้เรียนได้พัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตรและต่อยอดทักษะในการแก้ปัญหาของชุมชน
8. ผู้เรียนสามารถเขียนโปรแกรมและอัพโหลดโปรแกรมเพื่อควบคุมหุ่นยนต์ไมโครบิตได้
งบประมาณ
ลำดับ |
รายการ |
จำนวน |
ราคาต่อหน่วย |
จำนวนเงิน |
|
รวม |
|
|
|
0.00 |
ผู้รับผิดชอบโครงการ
นายชัชวาลย์ แสวงหาทรัพย์
นางสาว วิราวรรณ ไชยศิริ
นายชัชวาลย์ แสวงหาทรัพย์คณะครู บุคลากรโรงเรียนบ้านไร่ป่า
นางสาว ผกามาศ นิลบุตร นางสาว วิราวรรณ ไชยศิริ