เติมฝัน ปันโอกาส ด้วยคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
เติมฝัน ปันโอกาส ด้วยคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
โรงเรียนวัดสันกลางเหนือ จ.เชียงใหม่
ได้รับบริจาคแล้ว
9,050.00 บาท
เป้าหมาย
500,000.00 บาท
1%
445 views
เหลือ 43 วัน
hearts
เพิ่มในโครงการที่สนใจ
Share this

โรงเรียนวัดสันกลางเหนือได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาทักษะของนักเรียนทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มุ่งพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดทักษะการสืบค้นและเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ทุกที่ทุกเวลา จึงได้จัดทำโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างมีคุณภาพในยุคสังคมดิจิทัล สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ สร้างสรรค์ผลงาน นวัตกรรมใหม่ๆ อย่างมีคุณภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดในสังคมยุคดิจิทัล
เติมฝัน ปันโอกาส ด้วยคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง และเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีเชื่อมข้อมูลต่างๆ ของทุกภูมิภาคและทั่วโลกเข้าด้วยกัน ทั้งข้อมูลทางเศรษฐกิจ และการลงทุน   ความมั่นคงทางการเมืองการปกครอง ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและสังคม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในยุคปัจจุบันเกือบทุกด้าน ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษา โดยที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทในแง่การเป็นเครื่องมือที่ช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้ ข่าวสารต่าง ๆ  สู่ผู้เรียน  
 

จากสถานการณ์ดังกล่าว ทางมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ได้ตระหนักและ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ควบคู่กับการส่งเสริมการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ได้อย่างทัดเทียมและทั่วถึง จึงได้ริเริ่มการบริจาคเพื่อการศึกษา โครงการคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา (Notebook for Education) เพื่อเชื่อมโยงเครื่องมือเทคโนโลยีเข้ามาเสริมการจัดการเรียนการสอนและการบริหาร เปิดโอกาสในการเข้าถึงโครงการพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructures) ดังนั้น ในการจัดการศึกษาทั่วโลกในศตวรรษที่ 21 และโอกาสที่จะได้รับ โรงเรียนวัดสันกลางเหนือได้ตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญ ในการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียน  ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยให้ผู้เรียนมีความรู้ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาตนเอง ส่งเสริมทักษะการสืบค้นและเรียนรู้ ด้วยตนเองได้ทุกที่ ทุกเวลา สามารถต่อยอดความรู้เดิมและประยุกต์ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม  กับตนเองและสังคม และเปิดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล ข่าวสาร สาระความรู้ ให้กับผู้เรียน เพื่อยกระดับคุณภาพ  การจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ต่อยอดสู่การเรียนการสอนแบบ Active Learning สู่การพัฒนาทักษะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21  ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ พัฒนาผู้เรียนรายบุคคลในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้มีการใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการสืบค้น และขยายทักษะในห้องเรียนสู่ทักษะอาชีพของผู้เรียน 


นอกจากศึกษาเป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างทักษะต่าง ๆ ให้กับผู้เรียนแล้ว ครูยังถือเป็นบุคคลที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อม มีสมรรถนะ และมีทักษะที่จำเป็นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาการสอนของตนให้มีประสิทธิภาพก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  เพื่อให้สามารถเสริมสร้างทักษะความรู้ต่าง ๆ ที่จำเป็นให้กับผู้เรียน ซึ่งจะเติบโตไปเป็นประชากรของชาติ  ให้มีความพร้อมสามารถดำรงชีวิตในยุคศตวรรษที่ 21 นี้ได้อย่างเท่าทันและมีคุณภาพ การที่ครูได้รับการพัฒนา เพื่อสนับสนุนเตรียมความพร้อม ทั้งแนวคิด หลักการ และประสบการณ์สอนในการจัดการเรียนรู้โดยใช้โน้ตบุ๊ก   เป็นฐานและได้รับการพัฒนาให้สามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน      จึงมีความสำคัญยิ่ง และหากครูได้รับการพัฒนาจนเกิดเป็นเครือข่ายครูผู้ร่วมพัฒนาการเรียนรู้ในกลุ่มสาระที่รับผิดชอบ จะทำให้ครูได้เทคนิควิธีการที่สามารถนำไปใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของตนเอง ทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากการนำโน้ตบุ๊กที่โรงเรียนจะได้รับการสนับสนุนมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
 

 


วัตถุประสงค์
1.เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สู่การพัฒนาทักษะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ พัฒนาผู้เรียนรายบุคคล ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเปิดโอกาสให้มีการใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการสืบค้นและขยายทักษะในห้องเรียนสู่ทักษะอาชีพของผู้เรียน
2.เพื่อให้ครูผู้สอนและนักเรียนมีเครื่องมือที่สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้จากทั่วทุกมุมโลก มีสื่อการสอนดิจิทัลและแพลตฟอร์มในการบริหารจัดการเรียนรู้
3.เพื่อสนับสนุนและพัฒนาครูผู้สอนในการเตรียมความพร้อม ทั้งแนวคิด หลักการ ประสบการณ์สอนในการจัดการเรียนรู้โดยใช้โน้ตบุ๊กเป็นฐาน สามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้และสามารถใช้ประโยชน์จากการนำโน้ตบุ๊กที่โรงเรียนจะได้รับการสนับสนุนมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


กลุ่มเป้าหมาย
1. นักเรียนป.5 จำนวน 20 คน

รายละเอียดโครงการ

โครงการคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา (Notebook for Education) เป็นโครงการจัดซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กพร้อมชุดอุปกรณ์เพื่อนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน พัฒนาทักษะของนักเรียนทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มุ่งพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมให้เกิดทักษะการสืบค้นและเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ทุกที่ทุกเวลา โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

รายการชุดอุปกรณ์

1.คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก จำนวน 20 เครื่อง

2.ตู้ชาร์ตโน้ตบุ๊ก จำนวน 1 ตู้ 

3.Access Point จำนวน 4 เครื่อง

 

กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โน้ตบุ๊ก

โรงเรียนวางแผนใช้โน้ตบุ๊กร่วมกับการจัดการเรียนรู้ โดยครูออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เป็นแบบ Active Learning เช่น Inquiry-based Learning ,Problem-based Learning, Project-based Learning หรืออื่น ๆ รวมถึงให้นักเรียนใช้โน้ตบุ๊กเป็นเครื่องมือในการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้นักเรียนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ต่าง ๆ จากทั่วทุกมุมโลก 

 

เป้าหมายการดำเนินโครงการ โดยทำการประเมินผลเมื่อสิ้นปีการศึกษา

1.นักเรียนมีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Literacy)ได้รับการพัฒนาผู้เรียนรายบุคคลในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการสืบค้นและขยายทักษะในห้องเรียนสู่ทักษะอาชีพของผู้เรียน

2.ครูผู้สอนได้รับการพัฒนาและสามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้โดยใช้โน้ตบุ๊กร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learningได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

แผนการดำเนินงาน

เสนอโครงการ  มิถุนายน 2564

การระดมทุนสนับสนุนโครงการ         1 ตุลาคม 2564 – 31 ธันวาคม 2564

จัดซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กและอุปกรณ์                                กุมภาพันธ์ 2565

การบันทึกข้อมูลอุปกรณ์เข้าระบบครุภัณฑ์ รวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์        กุมภาพันธ์ 2565

การอบรมการใช้งานแก่ครู และวางแผนการจัดการเรียนการสอน       พฤษภาคม 2565

 

การประเมินผล

1. นักเรียนได้ใช้งานโน้ตบุ๊กและสื่อการเรียนรู้ไม่น้อยกว่า 200 วัน/ปีการศึกษา

2. ครูมีจัดการเรียนรู้โดยใช้โน้ตบุ๊กร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

3. นักเรียนมีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Literacy) อยู่ในระดับดีขึ้นไป

 


แผนการดำเนินงาน
ศึกษานโยบายของโรงเรียน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสพฐ. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการ มิถุนายน 2564
ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงโครงการ และมอบหมายภาระงาน กรกฎาคม 2564
ดำเนินการบันทึกข้อมูลโครงการ ในระบบ School Plan สิงหาคม 2564
จัดทำเอกสารใบลงนามรับทราบข้อกำหนดพร้อมอัพโหลดไฟล์เอกสารในระบบ google form กันยายน 2564
ดำเนินการสมัครช่องทางการรับบริจาค “Merchant pay”และไฟล์หนังสือแจ้งรายละเอียด EDDS ในระบบ google form กันยายน 2564
ประชาสัมพันธ์โครงการ ตุลาคม 2564
สรุปยอดเงินหลังจากปิดรับบริจาค ธันวาคม 2564
ปรับข้อมูลโครงการตามยอดรับบริจาคจริง มกราคม 2565
ดำเนินการจัดซื้อโน้ตบุ๊กและอุปกรณ์พร้อมติดตั้ง รายงานสถานะโครงการในระบบ School Plan กุมภาพันธ์ 2565
บันทึกครุภัณฑ์โรงเรียน กุมภาพันธ์ 2565
ดำเนินการอบรมแนวทางการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนแบบ Notebook-based Learning เมษายน 2565
ประชุมการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้พื้นฐานแบบ Notebook-based Learning ของโรงเรียน พฤษภาคม 2565
ดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้จัดทำไว้ ตลอดปีการศึกษา 2565 พฤษภาคม 2565
นิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Notebook-based Learning กันยายน 2565
ประเมินผลการดำเนินงาน นำผลการประเมินมาปรับปรุง พัฒนา มีนาคม 2566

การประเมินผล
1. นักเรียนได้รับการพัฒนาผู้เรียนรายบุคคลในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการสืบค้นและขยายทักษะในห้องเรียนสู่ทักษะอาชีพของผู้เรียน
2. ครูผู้สอนได้รับการพัฒนาและสามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่นำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากการนำโน้ตบุ๊กที่ได้รับการสนับสนุนมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

งบประมาณ
ลำดับ รายการ จำนวน ราคาต่อหน่วย จำนวนเงิน
1 คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก - CPU Intel i3-1115G4 - Ram: 4GB, 1x4GB, DDR4 Non-ECC - Hard disk: M.2 256GB PCIe NVMe Class 35 Solid State Drive - หน้าจอขนาด 14" HD (1366 x 768) AG Non-Touch, 220nits - Network : Intel Dual Band Wi-Fi 6 AX201 2x2 802.11ax 160MHz + Bluetooth 5.1 Web camera: Camera & Microphone,WLAN Capable - OS: Windows 10 Home Single Language English - ต้องมีการรับประกัน 20 เครื่อง 21,900.00 438,000.00
2 ตู้ชาร์จโน้ตบุ๊ก - โครงสร้างเป็นโลหะทนไฟ เคลือบสีกันสนิม - ป้องกันไฟรั่ว ไฟลัดวงจร ป้องกันฟ้าผ่า - เปิดปิดระบบอัตโนมัติและระบบแมนนวล - มีสวิตซ์แบบมีไฟ บ่งบอกสถานการณ์ใช้งาน - มีล้อเข็น สามารถล็อคล้อได้ - มีพัดลมดูดอากาศร้อนออกจากตัวตู้ 1 เครื่อง 50,000.00 50,000.00
3 Access Point - ย่านความถี่ 2.4 GHz/ 5 GHz - Class ac/a/b/g/n - จำนวน User : 20 คน หรือ 40 คน 4 เครื่อง 3,000.00 12,000.00
รวม 500,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ
นายยงยุทธ วงศ์ชัย
นายยงยุทธ วงศ์ชัย และคณะครู
นางสาวนงนุช ชัยคุณา
นางสาวนงนุช ชัยคุณา
นางสาวนงนุช ชัยคุณา
คณะครู
นางนภัสสร กิตติพงศ์ไพศาล
นางสาวนงนุช ชัยคุณา
นางสาวนงนุช ชัยคุณา
นางอารุณ พุทธิมา
คณะครูทุกคน
นายยงยุทธ วงศ์ชัย และคณะครูทุกคน
คณะครูทุกคน
นายยงยุทธ วงศ์ชัย
นายยงยุทธ วงศ์ชัย และคณะครูทุกคน
แผนการดำเนินงาน
0/15
0%
Start |
S |
01.06.64
End |
E |
11.06.64
Over Due
Start |
S |
01.07.64
End |
E |
30.07.64
Over Due
Start |
S |
02.08.64
End |
E |
15.09.64
Over Due
Start |
S |
01.09.64
End |
E |
03.09.64
Over Due
Start |
S |
01.09.64
End |
E |
15.09.64
Over Due
Start |
S |
01.10.64
End |
E |
31.12.64
Over Due
Start |
S |
31.12.64
End |
E |
31.12.64
Over Due
Start |
S |
03.01.65
End |
E |
07.01.65
Over Due
Start |
S |
01.02.65
End |
E |
15.02.65
Over Due
Start |
S |
27.02.65
End |
E |
28.02.65
Over Due
Start |
S |
01.04.65
End |
E |
30.04.65
Over Due
Start |
S |
01.05.65
End |
E |
31.05.65
Over Due
Start |
S |
16.05.65
End |
E |
31.03.66
Over Due
Start |
S |
01.09.65
End |
E |
30.09.65
Over Due
Start |
S |
01.03.66
End |
E |
31.03.66
Over Due
การดำเนินงาน
วัน เดือน ปี รายการ รายรับ รายจ่าย คงเหลือ ใบเสร็จรับเงิน
29/11/64 เงินสนับสนุนโครงการ 50.00 0.00 50.00 -
26/11/64 เงินสนับสนุนโครงการ 9,000.00 0.00 9,000.00 -
คำขอบคุณ
วัดสันกลางเหนือ
61/2 หมู่ 4 ถ.- ต.สันกลาง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ 50130
โทร. 086-4304803
ผู้อำนวยการโรงเรียน
นายยงยุทธ วงศ์ชัย
  • participation
    ระดับชั้นที่เปิดสอน
    อนุบาล- ป. 6
  • grey-school
    จำนวนห้องเรียน
    8
  • student-count
    จำนวนนักเรียน
    253
  • teacher-count
    จำนวนครู
    12
  • ภาพบริเวณโรงเรียน
    School Grading ปีการศึกษา -1
    1.35
    grading-line
    ด้านผู้เรียน
    0.77
    ด้านผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา
    1.13
    ด้านหลักสูตรและการสอน
    0.75
    ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
    4.00
    ด้านการมีส่วนร่วม
    3.80
    O-NET
    ปีการศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คะแนนเฉลี่ย
    ผู้บริจาคสูงสุด
    อันดับ ผู้บริจาค ยอดเงินบริจาครวม
    ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม 9,000.00
    ดวงกมล คลังทอง 50.00
    - -
    4 - -
    5 - -
    6 - -
    7 - -
    8 - -
    9 - -
    10 - -
    ผู้บริจาคล่าสุด
    วันที่บริจาค ผู้บริจาค ยอดเงินบริจาค
    29.11.2564 ดวงกมล คลังทอง 50.00
    26.11.2564 ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม 9,000.00
    - - -
    - - -
    - - -
    - - -
    - - -
    - - -
    - - -
    - - -