ในโลกปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ในด้านต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะ ด้านการศึกษา เทคโนโลยี ช่วยให้การค้นหาข้อมูลทางด้านการศึกษากว้างขวางอย่างไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกมากขึ้นในการค้นคว้าวิจัยต่างๆ นอกจากนั้นเทคโนโลยีทำให้เกิดสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาคนซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มีทักษะด้านไอซีที (ICT Literacy) ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะศตวรรษที่ 21
โรงเรียนบ้านทุ่งน้อย จัดการศึกษา ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาล 2 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนเป็นเด็กด้อยโอกาส มาจากครอบครัวที่มีปัญหาการหย่าร้าง มีฐานะยากจน ผู้ปกครองของนักเรียนประกอบ อาชีพรับจ้างทำสวนยางพาราและรับจ้างทำงานต่างจังหวัด นักเรียนอาศัยอยู่กับปู่ย่า ตายายเป็นส่วนใหญ่ ทำให้นักเรียนได้รับการดูแลจากผู้ปกครองไม่ทั่วถึงทั้งด้านการเรียนและพฤติกรรม นอกจากนั้นทางโรงเรียนขาดแคลนสื่อเทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้ ตลอดจน เครื่องมือในการเข้าถึงสื่อการสอนดิจิทัลและแหล่งความรู้ มีคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน นักเรียนขาดทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยี ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านผลสัมฤทธิ์ในการเรียน และทักษะในศตวรรษที่ 21 อาทิเช่น ผลการประเมินระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ,ทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) โดยปัญหานี้ถือเป็นอุปสรรคหนึ่งของการจัดการศึกษาของโรงเรียน ทำให้โรงเรียนไม่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาให้มีคุณภาพการศึกษาตามเป้าหมายได้
ทางโรงเรียนตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวมาโดยตลอด จึงมีความประสงค์เข้าร่วมการบริจาคเพื่อการศึกษา โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (Notebook for Education) ภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ CONNEXT ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นประกันโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกันให้แก่นักเรียนทุกคน ได้รับการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของแต่ละบุคคลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ทั้งด้านทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ ทักษะการสื่อสารและเทคโนโลยี และคุณธรรมจริยธรรมที่จำเป็นของศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน
โครงการคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา เป็นโครงการจัดซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กพร้อมชุดอุปกรณ์เพื่อนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
โรงเรียนบ้านทุ่งน้อยได้ดำเนินการในโครงการ โดยใช้กระบวนการ PDCA ดังนี้
ขั้นที่ 1 P –Plan การประชุม วางแผน คณะครู บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความเห็นชอบในโครงการ
ขั้นที่ 2 D – Do ดำเนินการจัดทำโครงการโครงการ เพื่อเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุน ตลอดจนกำหนดผู้รับผิดชอบโครงการ ดังต่อไปนี้
1. การจัดซื้อ ตามระเบียบว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง
2. การเตรียมความพร้อม
2.1 การจัดอบรม /ประชุม คณะครูบุคลากรเตรียมความพร้อม ชี้แจงความเป็นมาของโครงการดังนี้
2.1.1. การจัดอบรมครูและบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อม ประเด็นดังต่อไปนี้
1. การใช้ สื่อเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ
2. การจัดเก็บ ซ่อมแซม บำรุงรักษา โดยจัดเก็บใน Notebook Charger จำนวน 2 ตู้ การชาร์ทเครื่องโน๊ตบุ๊ค ในเวลาที่นักเรียนเลิกเรียน หลัง 15.30 – 16.30 น. โดยครูประจำชั้นป.5-6 งบประมาณในการซ่อม ใช้งบประมาณสนับสนุนจากชมรมผู้ปกครองและชมรมศิษย์เก่าของโรงเรียน จัดทำระบบ ยืมโดยใช้ Google ฟอร์ม แจ้งเตือนผ่าน แอพพลิเคชั่น Line Nofity
3. ด้านหลักสูตร การสอน การจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้แบบ
Active Learning โดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ ในสาระ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสนาและวัฒนธรรม ภาษาอังกฤษ ในระดับชั้น ป.5-6
4. การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เว็บไซต์ ทรูปลูกปัญญา up-skill และ VCourse เป็นต้น
2.2 การประชุมผู้ปกครอง ประเด็นดังต่อไปนี้
2.2.1. เพื่อสร้างความเข้าใจกิจกรรมในโครงการ ตลอดจน การให้ข้อเสนอแนะในการดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.2.2. การดูแลรักษา โน๊ตบุ๊ค กรณีนักเรียนนำใช้ที่บ้าน
2.2.3. การมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา
2.3 การอบรมนักเรียน ประเด็นดังต่อไปนี้
2.3.1. ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์
2.3.2. วิธีการดูแลรักษา การระดมความคิด เสร้างข้อตกลงความรับผิดชอบการใช้ การยืม โน๊ตบุ๊ค
3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้โน้ตบุ๊กร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
3.1. การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยโครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน (CIP) ตามแนวทางของ OECD ซึ่งกระบวนการเรียนเพื่อนำไปสู่การคิดนวัตกรรมโดยการบูรณาการ สาระภาษาไทย สาระคณิตศาสตร์ สาระวิทยาศาสตร์ สาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และสาระ ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 กระบวนการสอนดังกล่าว ช่วยยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
3.2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อาทิเช่น
3.2.1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project Based Learning)
3.2.2. กิจกรรมการเรียนรู้โครงงานฐานวิจัย จากเรื่องราวใกล้ตัว การจัดการเรียนรู้ RBL (Research-Based Learning)
3.2.3. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน( (Activity-Based Learning) ได้แก่ กิจกรรมเชิงสำรวจ เสาะหา ค้นคว้า (Exploratory) กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Constructive) กิจกรรมเชิงการแสดงออก (Expressional) ได้แก่กิจกรรมที่เกี่ยวกับการนำเสนอ การนำเสนอข้อมูล เป็นต้น
3.2.4. การจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ (Experiential Learning) เป็นการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมเพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจเชิงนามธรรม
3.2.5. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning)
3.2.6. การจัดกิจกรรมการรเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด (Thinking Based Learning)
3.3. การจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบ On Line On Air ในช่วงสถานการณ์ที่มีเหตุจำเป็นต้องหยุดเรียน ,การจัดกิจกรรมการนำเสนองานของนักเรียนในการเรียนรู้ตามสาระต่างๆได้ ,การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ผลผลิตของโรงเรียน
3.4. การจัดกิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ โดยใช้เว็บไซต์ต่างๆ อาทิเช่น ทรูปลูกปัญญา up skill , Vcourse ฯลฯ
ขั้นที่ 3 C - Check ตรวจสอบ นิเทศ ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยจัดทำแผนการนิเทศ ติดตาม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้โน๊ตบุ๊คทุกเดือน
ขั้นที่ 4 A -Act การปรับปรุง แก้ไข การดำเนินงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนสูงสุด
ซึ่งทางโรงเรียนจะให้ครูและนักเรียนยืมคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กพร้อมชุดอุปกรณ์เพื่อนำไปใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ที่บ้าน ซึ่งจะทำให้สามารถเกิดการเรียนรู้ได้ทัุกที่ทุกเวลา ทั้งนี้โรงเรียนมีกระบวนการในการบริหารจัดการคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กพร้อมชุดอุปกรณ์ รวมถึงมาตรการในการดูแลรักษาเพื่อให้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กพร้อมชุดอุปกรณ์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานให้นานที่สุด
กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โน้ตบุ๊ก
โรงเรียนวางแผนใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กร่วมกับการจัดการเรียนรู้ โดยครูออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เป็นแบบ Active Learning เช่น Inquiry-based Learning , Problem-based Learning , Project-based Learning หรืออื่น ๆ รวมถึงการใช้สื่อการสอนดิจิทัลและแพลตฟอร์มการเรียนรู้ต่าง ๆ อีกทั้งให้นักเรียนใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเป็นเครื่องมือในการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้นักเรียนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ต่าง ๆ จากทั่วทุกมุมโลก
เป้าหมายและการประเมินผลโครงการ
เป้าหมายการดำเนินโครงการแบ่งเป็น 3 หัวข้อ โดยทำการประเมินผลเมื่อสิ้นปีการศึกษา
ประชุม เขียนโครงการ นำเสนอโครงการ | มิถุนายน 2564 |
เสนอโครงการ เพื่อให้บริษัทคัดกรองและอนุมัติ | มิถุนายน 2564 |
รอการอนุมัติ /จัดทำข้อมูล เตรียมความพร้อม | กรกฎาคม 2564 |
นำโครงการขึ้นระบบ | สิงหาคม 2564 |
แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดซื้อ ดำเนินการจัดซื้อ | กันยายน 2564 |
แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับ | กันยายน 2564 |
แต่งตั้งคณะกรรมการ จัดเก็บ ดูแลรักษา | กันยายน 2564 |
ประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจ คณะครู | กันยายน 2564 |
การอบรมครูเพื่อเตรียมความพร้อมทักษะขั้นพื้นฐานการใช้สื่อ เทคโนโลยี การใช้โน้ตบุ๊ค | กันยายน 2564 |
ปิดระบบการรับบริจาค | มีนาคม 2565 |
ประชุมครู บุคลากร แจ้งความก้าวหน้าการดำเนินการ | พฤษภาคม 2565 |
ดำเนินการจัดซื้อโน้ตบุ๊ก | มิถุนายน 2565 |
ลงทะเบียนพัสดุ | มิถุนายน 2565 |
ลงทะเบียนผู้ถือครองสิทธิ์ - สติ๊กเกอร์ถือครองราบบุคคล | มีนาคม 2565 |
คณะกรรมการ จัดเก็บ ดูแลรักษาอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก | มิถุนายน 2565 |
วางแผนการจัดการโน้ตบุ๊กเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด การจัดเก็บการดูแลรักษา -ค้นหาเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ สื่อที่ครูให้ความสนใจสามารถประยุกต์ใช้การเรียนการสอนได้ -นำเสนอแผนการอบรม เพื่อขอการสนับสนุนจากผู้อำนวยการ | พฤษภาคม 2565 |
จัดประชุมผู้ปกครอง | มิถุนายน 2565 |
อบรมการใช้โน้ตบุ๊กเบื้องต้นและแนะนำการใช้แพลตฟอร์มสื่อการสอนออนไลน์ | มิถุนายน 2565 |
แต่งตั้งคณะกรรมการดูแลรักษาอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กประจำห้องเรียน | มิถุนายน 2565 |
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โน้ตบุ๊กเป็นสื่อ | กรกฎาคม 2565 |
อบรมครู(อบรมรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการกับชีวิตจริง โดยใช้โน้ตบุ๊คเป็นฐาน (Notebook-based Learning Learning) | สิงหาคม 2565 |
จัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการกับชีวิตจริง โดยใช้โน้ตบุ๊คเป็นฐาน (Notebook-based Learning Learning) ชั้น ป.5-6 | กันยายน 2565 |
นิเทศติดตามครั้งที่ 1 | กันยายน 2565 |
PLC ครั้งที่ 1-2 จากมศว. | กันยายน 2565 |
กิจกรรมAAR | ตุลาคม 2565 |
ประชุมรายงานผลโครงการในภาคเรียนที่ 1 | ตุลาคม 2565 |
ปิดภาคเรียนที่ 1/2565 | ตุลาคม 2565 |
ประชุมเตรียมเปิดเรียน-ปัญหาและแผนการพัฒนา | ตุลาคม 2565 |
จัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการกับชีวิตจริง โดยใช้โน้ตบุ๊คเป็นฐาน (Notebook-based Learning Learning) ชั้น ป.5-6 | พฤศจิกายน 2565 |
PLC ครั้งที่ 3 จากมศว. | พฤศจิกายน 2565 |
นิเทศติดตาม ครั้งที่ 2 | พฤศจิกายน 2565 |
รับการนิเทศติดตามผลการอบรมครูจากมศว.และจนท. บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น | พฤศจิกายน 2565 |
นิเทศติดตาม ครั้งที่ 3 | ธันวาคม 2565 |
นิเทศติดตาม ครั้งที่ 4 | มกราคม 2566 |
นิเทศติดตาม ครั้งที่ 5 | กุมภาพันธ์ 2566 |
นิเทศติดตาม ครั้งที่ 6 | มีนาคม 2566 |
กิจกรรมAAR | มีนาคม 2566 |
ประเมินผล /สรุปผลการดำเนินงาน/รายงานผล | มีนาคม 2566 |
กิจกรรมถอดบทเรียน | เมษายน 2566 |
ลำดับ | รายการ | จำนวน | ราคาต่อหน่วย | จำนวนเงิน | |
---|---|---|---|---|---|
1 | คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก | 29 | เครื่อง | 15,500.00 | 449,500.00 |
2 | อุปกรณ์กระจายสัญญาณเครือข่ายไร้สาย (Access Point) | 2 | เครื่อง | 8,500.00 | 17,000.00 |
3 | ตู้ชาร์จแบตเตอรี่คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก | 1 | เครื่อง | 14,000.00 | 14,000.00 |
4 | Ruije 1-Port POE Adapter | 2 | เครื่อง | 500.00 | 1,000.00 |
5 | เมาส์ | 30 | อัน | 200.00 | 6,000.00 |
6 | แผ่นรองเมาส์ | 27 | แผ่น | 35.00 | 945.00 |
7 | ปลั๊กไฟยาว 5 เมตร | 15 | อัน | 400.00 | 6,000.00 |
รวม | 494,445.00 |
28/39 |
กรรมการตรวจรับและลงทะเบียนพัสดุ |
ICT TALENT และคุณครูคอมพิวเตอร์ คุณครูที่รับผิดชอบ ลงโปรแกรม ต่างๆที่ครูและนักเรียนต้องใช้พื้นฐาน เช่น Line , Microsoft Office Manictime เพื่อบันทึกประวัติการใช้งาน (การเข้าเว็บไซต,์ โปรแกรมต่าง ๆ) และ โปรแกรม Block Site ท่ี่ใช้สาหรับ จัดการการเข้าถึงเว็บไซต์ท่ีไม่ เหมาะสม จำนวน 29 เครื่อง |
คณะกรรมการจัดซื้อโน้ตบุ๊ก พัสดุ อุปกรณ์ |
เรียน ผู้บริจาค สมทบทุนในโครงการปันใจ ปันสุข ปันโน้ตบุ๊ก เพื่อน้อง (Notebook for Education)
ในนามโรงเรียนบ้านทุ่งน้อย คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร คณะครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน ผู้ปกครอง
ขอแสดงความขอบคุณท่านที่ได้บริจาคเงินสมทบทุน ในโครงการปันใจ ปันสุข ปันโน้ตบุ๊ก เพื่อน้อง (Notebook for Education) ของโรงเรียนบ้านทุ่งน้อย
ทั้งนี้ทางโรงเรียนบ้านทุ่งน้อย จะนำเงินบริจาคนี้ไปใช้กับโครงการให้เกิดประโยชน์ องค์ความรู้สูงสุดแก่นักเรียน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับความร่วมมือ ร่วมใจจากท่านอีกในอนาคต
ด้วยความเคารพอย่างสูง ว่าที่ร้อยตรียุทธพล ฟักมงคล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งน้อย
|
ด้านผู้เรียน
|
ด้านผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา
|
ด้านหลักสูตรและการสอน
|
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
|
ด้านการมีส่วนร่วม
|
ปีการศึกษา | คณิตศาสตร์ | วิทยาศาสตร์ | ภาษาไทย | ภาษาอังกฤษ | คะแนนเฉลี่ย |
---|
อันดับ | ผู้บริจาค | ยอดเงินบริจาครวม |
---|---|---|
ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม | 90,000.00 | |
กึกก้อง | 50,000.00 | |
ครอบครัว โกศลศักดิ์สกุล | 41,000.00 | |
4 | Suwanit Poolcharoen | 30,200.00 |
5 | jaran piyasirinon | 15,054.18 |
6 | ป้อม ช่างอุต | 10,001.90 |
7 | Aor Piyaporn | 10,000.00 |
8 | Ppan C. | 10,000.00 |
9 | Yuparat Kongcharoen | 10,000.00 |
10 | Krish Follett | 10,000.00 |
วันที่บริจาค | ผู้บริจาค | ยอดเงินบริจาค |
---|---|---|
28.06.2565 | ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม | 10.00 |
09.02.2565 | ครอบครัว โกศลศักดิ์สกุล | 41,000.00 |
07.02.2565 | Nitiya Thiraphaichit | 99.00 |
06.02.2565 | PTHANAANEKCHAROEN | 1,000.00 |
06.02.2565 | Roongwit Rongsopa | 1,000.00 |
05.02.2565 | ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม | 100.00 |
05.02.2565 | ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม | 100.00 |
04.02.2565 | Surasawadee Poopansri | 100.00 |
03.02.2565 | pawarate Amonsinsawat | 1,000.00 |
03.02.2565 | Kanyapattra K. | 100.00 |