โน้ตบุ๊กจากพี่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ICT ให้น้อง
โน้ตบุ๊กจากพี่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ICT ให้น้อง
โรงเรียนชุมชนบ้านทุ่ง จ.พะเยา
ได้รับบริจาคแล้ว
2,000.00 บาท
เป้าหมาย
500,000.00 บาท
0%
926 views
เหลือ 39 วัน
hearts
เพิ่มในโครงการที่สนใจ
Share this

โรงเรียนชุมชนบ้านทุ่ง (อินมีอุปถัมภ์) มีความมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพทางวิชาการอย่างยั่งยืน ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกระบวณการเรียนรู้แบบ Active Learning อย่างเป็นรูปธรรมตามนโยบาย 3ดี 4เก่ง 5รู้ โดยพัฒนาทักษะด้าน ICT ของนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล จนถึง ป.6 เน้นทักษะการอ่านออกเขียนได้ ทักษะการคิดคำนวณ และทักษะการคิดวิเคราะห์ สามารถแก้ไขปัญหาอย่างมีกระบวนการ รวมถึงให้นักเรียนรู้จักใช้สื่อ ICT ที่นักเรียนคุ้นเคย เข้ามาพัฒนาตนเองอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งในความเป็นจริงนั้นนักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดความพร้อมในการเรียนออนไลน์ และยังขาดโอกาสในการเข้าถึงอุปกรณ์เพื่อสร้างทักษะด้าน ICT อีกมาก ทั้งผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่มีงบประมาณเพียงพอในการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ หรือ Notebook มาสนับสนุนการเรียนรู้ของบุตรหลานได้ โดยการใช้เพียงสมาร์ทโฟน ที่อาจมีอยู่เครื่องเดียวในบ้านมาใช้ในการเรียนออนไลน์ ย่อมไม่ตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการให้นักเรียนมีอุปกรณ์ที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลนี้ได้อย่างยั่งยืน
โน้ตบุ๊กจากพี่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ICT ให้น้อง

             โรงเรียนชุมชนบ้านทุ่ง (อินมีอุปถัมภ์) มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพทางวิชาการให้ดียิ่งขึ้นตาม แนวทาง “โรงเรียนคุณภาพ 3ดี 4เก่ง 5รู้” โดยทาโรงเรียนสนับสนุนให้ครูจัดกระบวณการเรียนรู้แบบ  Active Learning โดยพยายามพัฒนาทักษะด้าน ICT ของนักเรียนให้ได้มากที่สุดตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล จนถึง ป.6 เน้นทักษะการอ่านออกเขียนได้ ทักษะการคิดคำนวณ และทักษะการคิดววิเคราะห์ สามารถแก้ไขปัญหาอย่างมีกระบวนการ รวมถึงให้นักเรียนรู้จักใช้สื่อ ICT ที่นักเรียนคุ้นเคย เข้ามา พัฒนาตนเองอย่างสร้างสรรค์  ซึ่งในความเป็นจริงนั้นนักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดความพร้อมในการเรียนออนไลน์ และยังขาดโอกาสในการเข้าถึงอุปกรณ์ขาดทรัพยากรที่เอื้ออำนวยในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์และ ICT ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ขาดงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาสื่อประกอบการจัดกระบวณการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการอีกมาก ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่มีงบประมาณเพียงพอในการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ หรือ Notebook มาสนับสนุน การเรียนรู้ของบุตรหลานได้ โดยการใช้เพียงสมาร์ทโฟน ที่อาจมีอยู่เครื่องเดียวในบ้านมาใช้ในการ เรียนออนไลน์ ย่อมไม่ตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการ ให้นักเรียนมีอุปกรณ์ที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลนี้ได้อย่างยั่งยืน 

             และเพื่อเดินหน้าสู่การพัฒนาบุคลากร พัฒนาระบบงานบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนากระบวณการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเหลื่อมลำ้ทางการศึกษาของทุกกลุ่มนักเรียน และพัฒนานักเรียนได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพตามเป้าหมาย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการจัดการเรียนการสอน และสร้างความยั่งยืนเป็นต้นแบบของการพัฒนาวิชาการโดยใช้ ICTอย่างมีประสิทธิผลผ่านการบริจาคเพื่อการศึกษา


วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริม พัฒนาทักษะและกระบวนการสำหรับนักเรียนในการใช้สื่อไอซีทีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ทั้งในและนอกห้องเรียน ขยายผลสู้ครอบครัว ชุมชน และสังคม
2. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน พัฒนากระบวนการเรียนรู้ผ่านไอซีที เกิดองค์ความรู้ที่มีคุณค่าและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
3. เพื่อให้ครูพัฒนาเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ด้านไอซีทีได้อย่างเชี่ยวชาญ เป็นต้นแบบของการพัฒนาวิชาการด้วยไอซีที อย่างมีคุณภาพ และสร้างความยั่งยืน
4. เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการการศึกษาของนักเรียนในทุกกลุ่มอย่างแท้จริง


กลุ่มเป้าหมาย
1. นักเรียนป.4 จำนวน 31 คน
2. ครูหรือบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 7 คน

รายละเอียดโครงการ

โครงการคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา เป็นโครงการเพื่อจัดซื้อคอมพวิเตอร์โน้ตบุ๊กพร้อมชุดอุปกรณ์ เพื่อนำมาใช้ประกอบในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในห้องเรียน โดยมีรายละเอียดดังนี้

รายการอุปกรณ์

  • คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก พร้อมระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 10 ลิขสิทธิ์ถูกต้องพร้อมโปรแกรมสำหรับใช้งานที่เหมาะสม
  • เมาส์
  • กระเป๋าใส่คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
  • อุปกรณ์กระจายสัญญาณเครือข่ายไร้สาย (Access Point)
  • ตู้ชาร์ตแบตเตอร์รี่คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

     ทางโรงเรียนดำเนินการจัดซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กพร้อมอุปกรณ์ตามจำนวนของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย และจัดซื้ออุปกรณ์กระจายสัญญาณเครือข่ายไร้สายให้สามารถปล่อยสัญญาณได้ครอบคลุมห้องเรียนที่ใช้งานโน้ตบุ๊ก  โดยทางโรงเรียนให้นักเรียนทำการยืมคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กพร้อมชุดอุปกรณ์เพื่อนำไปศึกษาค้นคว้า หาความรู้ที่บ้าน ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ ทางโรงเรียนมีมาตรการในการบริหารจัดการ ดูแลรักษาอย่างรัดกุม และบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กให้อยู่ในสภานพร้อมใช้งานให้นานที่สุด เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนได้มากที่สุด และคุ้มค่ามากที่สุดอีกด้วย และเนื่องด้วยทางโรงเรียนมีครูที่เป็นบุคลากรหลักในการดูแลโครงการ จบด้านวิศวกรรมคอมพิวเอตร์ จึงสามารถดูแลรักษา แก้ปัญหาด้าน software และ hardware เบื้องต้นได้เป็นอย่างดี อีกทั้งสามารถให้ความรู้ และอำนวยความสะดวกในการดำเนินโครงการได้ตลอดเวลาอีกด้วย

 

กระบวณการจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

1. กิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน : ทุกรายวิชาที่เข้าร่วมโครงการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ Notebook ในการจัดกิจกรรม ได้แก่ การใช้เกมส์ เพื่อนำเข้าสู่บทเรียน การตอบคำถาม/ทำแบบทดสอบ ท้ายกิจกรรมโดยใช้ Google Form เพื่อให้นักเรียนทราบผลการทดสอบได้ในทันที 

2. กิจกรรมพัฒนาทักษะการค้นคว้า : ในห้องเรียน ระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอน ครูมอบหมาย หัวข้อการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ทักษะการสืบค้นข้อมูล โดยครูให้คำแนะนำ และสอนเทคนิคการใช้ "คำสำคัญ" และการใช้ Search Egine อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง สมบูรณ์และ สามารถพัฒนาทักษะในการคัดเลือก/วิเคราะห์ข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการตอบคำถามในกิจกรรมได้อีก ด้วย โดยสามารถใช้ได้กับทุกสาระการเรียนรู้ 

3. การพัฒนาทักษะการนำเสนอของผู้เรียน โดยการบูรณการหน่วยการเรียนรู้ ที่มีเนื้อหามากเกินไป โดยการจัดกิจกรรมกลุ่ม ให้มีการสืบค้นข้อมูล การจัดทำข้อมูลเพื่อนำเสนอในรูปแบบต่างๆ ที่ตนเอง สนใจ เช่น การจัดทำ Power Point นำเสนอ, การจัดทำ Infographic, การออกแบบชิ้นงาน หรือแม้กระทั้ง การถ่ายทำวิดีโอสั้น เพื่อตัดต่อสำหรับการนำเสนอผลงานได้ 

4. การจัดกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางด้าน ICT เช่น การกำหนดหัวข้อการรณรงค์ต่อต้านการทุจริต ให้นักเรียนร่วมกันระดมความคิด เพื่อหาวิธีการที่จะนำเสนอผลงานการรณรงค์ของตนเองให้น่าสนใจ สร้างสรรค์มากที่สุด โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร หรือ สื่อออนไลน์ต่างๆ ได้แก่ Youtube, Facebook Fanpage ของโรงเรียน ของครูผู้สอน และของนักเรียนเอง และให้มีการตัดสินคะแนนจากผลโหวต ยอดไลก์ หรือมีการกำหนดเกณฑ์การตัดสินออกมาอย่างชัดเจนในแต่ละกิจกรรม 

5. กิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะนักเรียนในการใช้งานระบบเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (ICT Junior) ให้มีการรับสมัครนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาทักษะด้าน ICT ของตนเอง มีความรับผิดชอบ ให้เขามาร่วมอบรม และพัฒนาทักษะ เพื่อนำไปขยายผลสู่เพื่อนๆ สู่ห้องเรียน ครอบครัว ชุมชน ให้นักเรียนมีทักษะที่เกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติจริง สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริงและเกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนมากที่สุด 

6. การสร้าง Digital Classroom สำหรับทุกสาระการเรียนรู้ เพื่อเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ของรายวิชา นำไปต่อยอดการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เพิ่มทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning ในศตวรรษที่ 21 

 

เป้าหมายและการประเมินผลโครงการ

    เมื่อสิ้นปีการศึกษาทางโรงเรียนทำการประเมินผลการดำเนินโครงการ ได้แก่

  1. ทักษะด้านไอซีทีของครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารได้ดีขึ้น (ICT Literacy)
  2. ครูและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ เข้าถึงชุดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ได้ใช้งานอิินเทอร์เน็ตความเร็วสูง สื่อการสอนออนไลน์ แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ และสามารถนำมาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียนได้
  3. ครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนแบบ Avtive Learning

แผนการดำเนินงาน
ระดมทุนสนับสนุนโครงการ ตุลาคม 2564
จัดซื้อและติดตั้งคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กพร้อมชุดอุปกรณ์ มกราคม 2565
จัดทำรายการอุปกรณ์และรายชื่อผู้ถือครอง กุมภาพันธ์ 2565
แจกจ่ายคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กพร้อมชุดอุปกรณ์แก่ครูผู้รับผิดชอบและจัดอบรมการใช้งาน พร้อมรูปแบบการจัดการ กุมภาพันธ์ 2565
แจกจ่ายคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กพร้อมชุดอุปกรณ์แก่นักเรียน พฤษภาคม 2565
ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กประกอบการจัดการเรียนการสอน พฤษภาคม 2565
ประเมินผลการดำเนินโครงการปลายปีการศึกษา 2565 มีนาคม 2566
สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ มีนาคม 2566
ประเมินผลการดำเนินโครงการ มีนาคม 2566

การประเมินผล
1. D07 สถานศึกษามีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กหรือแท๊บเล็ตให้ผู้เรียนใช้ในการเรียนรู้และเข้าถึงแหล่งความรู้ออนไลน์
2. H13 ผู้สอนมีความสามารถและประยุกต์ใช้ไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ในระดับดีขึ้นไป
3. M03 การมีส่วนร่วมทางการศึกษาของชุมชนและสังคม
4. H14 ผู้สอนมีกระบวนการพัฒนาตนเองที่มีประสิทธิภาพในระดับดีขึ้นไป
5. C04A ผู้เรียนระดับประถมศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมทุกวิชา ตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป
6. C10 ผู้เรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) ในระดับดีขึ้นไป
7. D01 สถานศึกษามีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น
8. H15 สถานศึกษามีบุคลากรด้านไอซีที
9. D03 สถานศึกษามีสื่อการสอนที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนรู้

งบประมาณ
ลำดับ รายการ จำนวน ราคาต่อหน่วย จำนวนเงิน
1 คอมพิวเตอร์ Notebook Core-i3 RAM8G HDD 500 GB 31 เครื่อง 13,500.00 418,500.00
2 รางไฟชนิด 12 Outlet MAP (M7-00012 PDU-12) 3 อัน 2,000.00 6,000.00
3 Access Point UBIQUITI UniFi (UAP-AC-LR) Wireless AC1350 Dual Band Gigabit 2 เครื่อง 4,515.00 9,030.00
4 เม้าส์ 31 อัน 120.00 3,720.00
5 ค่าซ่อมบำรุงอุปกรณ์ 1 รายการ 40,000.00 40,000.00
6 ค่าดำเนินการปรับปรุงระบบเครือข่าย 1 รายการ 15,000.00 15,000.00
7 กระเป๋าใส่คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 31 ใบ 250.00 7,750.00
รวม 500,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ
นางภัทรนิษฐ์ พระดวงงาม
นางภัทรนิษฐ์ พระดวงงาม
นางลัดดาวัณย์ ธิมา
นางภัทรนิษฐ์ พระดวงงาม, นางลัดดาวัณย์ ธิมา
นางภัทรนิษฐ์ พระดวงงาม, นางลัดดาวัณย์ ธิมา
นางภัทรนิษฐ์ พระดวงงาม, นางลัดดาวัณย์ ธิมา, นางสุชาดา จันทะวงศ์, นางพัชรี ไชยวุฒิ, นางสาวจีรนันท์ ธรรมศิริ, นางสาวศลิษา ถาวร, นางสาวปิยวรรณ จันทจร และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565
นางภัทรนิษฐ์ พระดวงงาม, นางลัดดาวัณย์ ธิมา, นางสุชาดา จันทะวงศ์, นางพัชรี ไชยวุฒิ, นางสาวจีรนันท์ ธรรมศิริ, นางสาวศลิษา ถาวร, นางสาวปิยวรรณ จันทจร และผู้อำนวยการวรนิษฐา คำยษ
นางภัทรนิษฐ์ พระดวงงาม
ผู้อำนวยการวรนิษฐา คำยศ
แผนการดำเนินงาน
0/9
0%
Start |
S |
01.10.64
End |
E |
31.12.64
Over Due
Start |
S |
03.01.65
End |
E |
31.01.65
Over Due
Start |
S |
01.02.65
End |
E |
07.02.65
Over Due
Start |
S |
08.02.65
End |
E |
01.04.65
Over Due
Start |
S |
09.05.65
End |
E |
13.05.65
Over Due
Start |
S |
16.05.65
End |
E |
10.03.66
Over Due
Start |
S |
13.03.66
End |
E |
17.03.66
Over Due
Start |
S |
20.03.66
End |
E |
24.03.66
Over Due
Start |
S |
27.03.66
End |
E |
31.03.66
Over Due
การดำเนินงาน
วัน เดือน ปี รายการ รายรับ รายจ่าย คงเหลือ ใบเสร็จรับเงิน
04/04/66 เงินสนับสนุนโครงการ 500.00 0.00 500.00 -
30/12/64 เงินสนับสนุนโครงการ 1,500.00 0.00 1,500.00 -
คำขอบคุณ
ชุมชนบ้านทุ่ง (อินมีอุปถัมภ์)
170 หมู่ 2 ถ.จุน-ป่าแดด ต.ห้วยข้าวก่ำ อ.จุน จ.พะเยา 56150
โทร. 093-228-8745
ผู้อำนวยการโรงเรียน
นางวรนิษฐา คำยศ
  • participation
    ระดับชั้นที่เปิดสอน
    อนุบาล- ป. 6
  • grey-school
    จำนวนห้องเรียน
    10
  • student-count
    จำนวนนักเรียน
    214
  • teacher-count
    จำนวนครู
    15
  • ภาพบริเวณโรงเรียน
    School Grading ปีการศึกษา -1
    1.31
    grading-line
    ด้านผู้เรียน
    0.73
    ด้านผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา
    1.57
    ด้านหลักสูตรและการสอน
    1.25
    ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
    4.00
    ด้านการมีส่วนร่วม
    2.96
    O-NET
    ปีการศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คะแนนเฉลี่ย
    ผู้บริจาคสูงสุด
    อันดับ ผู้บริจาค ยอดเงินบริจาครวม
    Napisa Samakkeemit 1,500.00
    สมศักดิ์ สัมฤทธิ์ 500.00
    - -
    4 - -
    5 - -
    6 - -
    7 - -
    8 - -
    9 - -
    10 - -
    ผู้บริจาคล่าสุด
    วันที่บริจาค ผู้บริจาค ยอดเงินบริจาค
    04.04.2566 สมศักดิ์ สัมฤทธิ์ 500.00
    30.12.2564 Napisa Samakkeemit 1,500.00
    - - -
    - - -
    - - -
    - - -
    - - -
    - - -
    - - -
    - - -